การอนุรักส์เต่าทะเล



ในปัจจุบัน เต่าทะเล ที่กระจายพันธุ์อยู่แถบน่านน้ำทะเลไทย มีจำนวนที่น้อยลงอย่างมาก จากการทำประมงเกินขนาดปริมาณความต้องการกระดองและเนื้อเต่าทะเลเพื่อทำการส่งออก และการสูญเสียพื้นที่วางไข่ตามแนวชายหาด ในระยะต่อมากรมประมงมองเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จึงได้ออกกฎห้ามทำการประมงอวนลากใกล้ชายฝั่งในระยะ 3,000 เมตรจากชายฝั่ง โดยเพิ่มกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเลมากขึ้น และแหล่งวางไข่เต่าทะเลหลายแห่งได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
เต่าทะเลจัดอยู่ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาย มีสายตาสั้นเมื่ออยู่บนบก แต่สายตากลับตอบสนองได้ดีขึ้นเมื่ออยู่ใต้น้ำ เนื่องจากการหักเหของแสงในน้ำ เพราะแสงไฟมีผลต่อสายตาของเต่าทะเลอย่างมาก ลูกเต่าทะเลแรกเกิดจะอาศัยแสงรำไรของขอบฟ้า เป็นตัวกำหนดทิศทางเพื่อมุ่งหน้าสู่ทะเล เว้นแต่ว่า บริเวณใกล้เคียงมีสิ่งให้แสงสว่างมากกว่า ลูกเต่าทะเลจะหันทิศทางมาทางแสงไฟทันที ดังนั้น บริเวณหน้าหาดที่มีเรือประมงมาก แสงสว่างอาจทำให้ลูกเต่าทะเล พากันไปติดอวนชาวประมงได้
ชนิดของเต่าทะเล
มีการค้นพบเต่าทะเลทั่วโลกมีทั้งหมด 8 ชนิด แต่พบในไทยเพียง 5 ชนิด แบ่งเป็น 2 วงศ์ คือ Cheloniidae มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า และเต่าหัวฆ้อน  วงศ์ Dermochelyidaeมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ เต่ามะเฟือง ซึ่งทั้งหมดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในปี พ.ศ.2535  องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และอนุสัญญาไซเตส (CITES)


เต่าตนุ (Green turtle) ชื่อวิทยาศาสตร์ Chelonia mydas (Linnaeus, 1758)

เต่ากระ Hawksbill turtle ชื่อวิทยาศาสตร์ Eretmochelys imbricate (Linnaeus, 1766)
เต่าหญ้า Olive Ridley Turtle ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepidochelys olivacea (Eschscholtz, 1829)
เต่าหัวฆ้อน Loggerhead Turtle ชื่อวิทยาศาสตร์ Caretta caretta (Linneaus, 1758)

HOME PAGE

อ้างอิง https://ngthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น